ในประเทศไทยจะใช้ Blockchain ต้องทำอย่างไร?
ในประเทศไทยจะใช้ Blockchain ต้องทำอย่างไร?
ระบบการเงินและการธนาคารของประเทศไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีคนที่ยังไม่ได้สิทธิ์ในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ เท่าที่ควร นั่นหมายความว่าประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินให้คนทุกกลุ่มได้ แต่เราจะทำอย่างไรเพื่อค้นหาประโยชน์จากการใช้งาน Blockchain ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นกันล่ะ ตามมาดูกันเลย
1.ความร่วมมือจากผู้ประกอบการ IDC ได้คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 103.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2563 โดยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ประเทศไทยมีระดับการใช้งาน Blockchain ที่ค่อนข้างสูง แต่การที่จะเพิ่มระดับการใช้งาน Blockchain ในประเทศไทยนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักถึงการใช้งาน ผลประโยชน์ และข้อควรระวัง ของเทคโนโลยี Blockchain ในวงกว้าง โดยเน้นไปที่กรณีการใช้งานที่สามารถสร้างผลกระทบในวงกว้างและเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งในมุมของผู้ประกอบการเองและในมุมของประชาชนผู้ใช้บริการทางการเงิน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีนี้ไปปรับใช้มากขึ้น
2.การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจให้กับสาธารณชน การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยี Blockchain ให้กับสาธารณชน จะช่วยให้ประชาสังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ของการใช้งานเทคโนโลยีนี้มากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายภาคอุตสาหกรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารเท่านั้น จะช่วยปูทางไปสู่การทำงานร่วมกับหน่วยงานในภาคการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษา ในการออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการติดตั้ง ใช้งาน และพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไปได้ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะเริ่มได้เห็นบริการ Blockchain-as-a-Service เพิ่มมากขึ้นจากเทคโนโลยีเวนเดอร์ นั่นหมายความว่าการเริ่มต้นใช้งานบล็อกเชนจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ประเทศไทยจึงต้องการบุคลากรที่จะช่วยให้ประเทศสามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้
3.เรียนรู้วิธีการจากประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยสามารถเรียนรู้จากประเทศอื่นๆ เช่น จากสิงคโปร์ คือธนาคารกลางและหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลด้านการเงินต่าง ๆ สามารถเป็นผู้สร้าง “บรรยากาศ” ที่เอื้อต่อการลงทุนและใช้งานเทคโนโลยี Fintech ต่าง ๆ รวมทั้งบล็อกเชนด้วย โดยผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำและวิสัยทัศน์ของหน่วยงานเหล่านี้อย่างเคร่งครัด หากทัศนคติของหน่วยงานเหล่านี้ที่มีต่อ Blockchain เป็นทัศนคติในแง่บวก ผู้ประกอบการก็มีแนวโน้มจะมีทัศนคติเดียวกันด้วย และโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่ถูกริเริ่มโดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลก็มักได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้ประกอบการจนประสบความสำเร็จได้
4.เปิดระบบ Regulatory Sandbox
สุดท้าย การให้การสนับสนุนในลักษณะการเปิดระบบ Regulatory Sandbox ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยี Fintech รวมทั้ง Blockchain อย่างมาก ซึ่งในปัจจุบัน ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ต่างได้เริ่มให้บริการหรือมีโครงการที่จะเปิดบริการระบบ Regulatory Sandbox เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศกำลังจับตามองความเป็นไปได้ของการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนและเทคโนโลยี Distributed Ledger ต่าง ๆ อยู่แล้ว
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://bit.ly/2Bk86j4
http://bit.ly/2vPgMZB