บริการ
TH
EN
TH
CN
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
Please Select

ดีป้า ใต้บน ร่วมหารือและนำเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

30 มีนาคม 2566


ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

30 มีนาคม 2566 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สาขาภาคใต้ตอนบน) โดย นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ ร่วมหารือและนำเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) ครั้งที่ 3/2566
ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ระบบออนไลน์

นายประชา ฯ ได้ขอความเห็นชอบโครงการในกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน (ระบบฐานข้อมูลเมือง การดำรงชีวิตอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอัจฉริยะ และการขนส่งอัจฉริยะ) พร้อมรายงานความก้าวหน้าการจัดทำแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในเขตพื้นที่ภาคใต้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเป็นแผนการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดนั้น ๆ ต่อไป

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

ผู้เข้าร่วมหารือ ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย

1. นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต

2. นาย วิศิษฐ์ อนันต์วรปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

3. นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง

4. นาย ราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง

5. นาย ชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล

6. นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

7. นาย ศักรินทร์ ปุรินทราบาล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต และหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชน กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ผลจากการมีส่วนร่วม

คณะกรรมการฯ มีเห็นชอบในโครงการที่เสนอ พร้อมให้ข้อเสนอแนะในข้อเสนอโครงการฯ เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลเมือง การดำรงชีวิตอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอัจฉริยะ และการขนส่งอัจฉริยะ เพื่อเป็นไปในรูปแบบการฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวของพื้นที่ภาคใต้ โดยเบื้องต้นการพิจารณาโครงการฯ เป็นไปตามเป้าหมาย และความต้องการในพื้นที่ โดยในพื้นที่ยังมีความต้องการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับภาคการท่องเที่ยว

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปพัฒนาการดำเนินงาน

ดีป้า นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการมาพัฒนาโครงการ ฯ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ และรวบรวมประเด็นข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนาแนวทางในการทำโครงการฯ เพื่อให้ตรงความต้องการของพื้นที่ ส่งเสริมให้เกิดพัฒนา และยกระดับให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้จะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้กิจกรรมเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป



ดีป้า ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เร่งขับเคลื่อน 

Smart Cities of the Future ของประเทศไทย

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ



ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “ Smart City Solutions for Smart Living”เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของเมืองโดยอาศัยความร่วมมือร่วมมือของทุกๆ ภาคส่วน ภายในกิจกรรมนี้ มีผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงด้านการพัฒนาเมือง มาถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ให้กับผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ประกอบด้วย

1. ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

2. Mr.Dave Blakely รองประธานกรรมการบริหาร Mach49 จาก Silicon Valley

3. ดร.วโรดม คำแผ่นชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด

4. Mr.Aaron Kaplan  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Eco Innovation Foundation

5. ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)

6. ดร.ลลนา ธีระนุสรณ์กิจ  สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

ผลจากการมีส่วนร่วม

ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตที่ต้องมีการปรับตัวในด้านต่าง ๆ รวมถึง Best practices ของดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในการเข้าไปร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนมีทรัพยากรและบทบาทที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของดิจิทัลสตาร์ทอัพให้สามารถร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ของเมืองได้

ดีป้า ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ทั้ง 7 ด้าน ซึ่งการจะเป็นเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่นั้น จะต้องคำนึงถึง ปัญหา ความท้าทาย และ ทรัพยากรในพื้นที่นั้นๆ แต่ละพื้นที่มีแนวทางในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งการทำความเข้าใจถึงลักษณะของแต่ละเมืองนั้น จะต้องอาศัยการลงพื้นที่ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of Concept) ในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับชีวิตประชาชน ร่วมกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมใน depa Smart City Accelerator Program

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปพัฒนาการดำเนินงาน

สำหรับกิจกรรมนี้ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ เอกชน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ และดิจิทัลสตาร์ทอัพ เพื่อการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นกลไกที่มีความยั่งยืน ดีป้าจะนำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับใช้กับการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนใน depa Smart City Accelerator Program ให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



ดีป้า ร่วมหารือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECO) เพื่อขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ EEC

24 มกราคม 2566

ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ร่วมหารือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECO) เรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC  เพื่อขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ EEC.

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

ผู้เข้าร่วมหารือ ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECO) ประกอบด้วย

1. นายทรงวุฒิ อภิรักษ์ขิต ผู้อำนวยการสำนักจัดการการลงทุน (EECO)

2.นายธีรภัทร เธียรโกศล ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ สำนักงาน (EECO)

3.ดร.สักกเวท ยอแสง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล (ดีป้า)

4.เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ (ดีป้า)

ผลจากการมีส่วนร่วม

การหารือครั้งนี้ทำให้ทาง ดีป้า ได้รับทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขับเคลื่อนและยกระดับอุตสาหกรรมดิจิทัลให้เติบโตแบบ S-curved โดยมีประเด็นที่สำคัญดังนี้

1. การให้สิทธิประโยชน์การทดสอบโดรนในพื้นที่ EEC สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย EECO ได้ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอยกเว้นกฎหมายการบินโดรนบนอากาศในพื้นที่ EEC ที่ได้รับการอนุญาต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำพื้นที่ Sand Box ต่าง ๆ ในอนาคต

2. การให้สิทธิประโยชน์ในการที่จะได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรทั้งขาเข้าและขาออกในการนำเข้าและส่งออกเครื่องจักรในเขตพื้นที่ของ EEC สำหรับโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย EECO

3. การให้สิทธิประโยชน์การอนุญาตให้แรงงานจากต่างประเทศสามารถเข้ามาทำงานในพื้นที่ EEC ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติการเข้าประเทศเพื่อมาทำงานจาก พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ อย่างไรก็ตามจะต้องเป็นบริษัทที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย EECO ได้มีการรับรอง

4.การให้สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเมืองการบิน ภาคตะวันออก ที่ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยองในพื้นที่ EECA ซึ่งได้มีการนโยบายการทำเมืองประกอบกับสนามบิน โดยได้มีการให้สิทธิประโยชน์ในการกำหนดให้ร้านผับบาร์สามารถให้บริการได้ 24 ชม. เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารที่มีการเดินทางตลอดเวลา

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปพัฒนาการดำเนินงาน

จากการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย EECO ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของ ดีป้า สำหรับการออกนโยบายที่ตอบโจทย์ต่อสังคม ในการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เติบโตผ่านภารกิจต่าง ๆ ของ ดีป้า ที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่ Thailand Digital Valley และการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต

Load More