สำนักงานเมืองอัจฉริยะ |
สำนักงานเมืองอัจฉริยะ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2560 มีภารกิจในการจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการและการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
คำสั่งจัดตั้งสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานเมืองอัจฉริยะ
คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ |
(Click here for English version)
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานประเมินแผนการเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ |
“เมืองอัจฉริยะ” หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีมิติการพัฒนาได้หลายด้าน มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ 1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 2) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) 3) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) 4) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 5) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) 6) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
ลักษณะของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การเฝ้าระวังภัยพิบัติตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม ไปจนถึงการส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้นอกระบบ รวมถึงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความหลากหลายทางสังคม
พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกอันเป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy) เช่น เชื้อเพลงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และไฟฟ้าจากพลังงานอื่นๆ เป็นต้น
เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ (เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น)
การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
องค์ประกอบของแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อจัดทำแผนนโยบายและการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับพื้นที่ โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบของแผนการพัฒนา ประกอบไปด้วย 5 เสาหลัก ดังนี้
(Click here for English version)
ช้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2564
(Click here for English version)
การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ |
เมืองอัจฉริยะ: เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน
ขั้นตอนขอรับการส่งเสริมเป็นเมืองอัจฉริยะ
(Click here for English version)
ขั้นตอน
ขั้นตอนในการสมัครขอรับพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย 4 ขั้นตอนคือ
ส่งข้อเสนอโครงการ ที่ [email protected] หรือ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย Smart City Thailand Office ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อาคารลาดพร้าว ฮิลล์ เลขที่ 80 ถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 4 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
รับรองสถานะเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ
เข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะ
ประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะ
คุณสมบัติผู้สมัคร
หน่วยงานที่ขอรับการพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สิทธิประโยชน์และเครื่องมือการส่งเสริม |
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนาทั้งพื้นที่ ระบบ และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับการเป็นประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกิจการ ได้แก่
กิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (หมวด 7.31) กำหนดเงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ต้องจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่พร้อมรองรับระบบอัจฉริยะด้านต่างๆ จัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม (Smart Environment) และจะต้องลงทุนจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อีกอย่างน้อย 1 ด้าน จาก 6 ด้าน (Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy) ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลโดยมีการเชื่อมโยงหรือการให้ใช้งานข้อมูลในการบริหารจัดการและให้บริการในพื้นที่เมืองอัจฉริยะ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
ผู้ขอรับการส่งเสริมฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี (จำกัดวงเงิน) และในกรณีที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สิทธิประโยชน์จากบีโอไอสำหรับเมืองอัจฉริยะ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เครื่องมือการส่งเสริมของ depa
มาตรการส่งเสริม
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Startup Fund)
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการให้ทุนศึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Scholarship)
ข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ |
เมืองที่ส่งข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะมายังสำนักงานเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งสิ้น 56 ข้อเสนอ ณ เดือน มี.ค. 65 แบ่งเป็นข้อเสนอเมืองเดิม 51 เมือง เมืองใหม่ 5 เมือง มีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะจำนวน 15 เมือง (ข้อมูล ณ 28 ต.ค. 64) และเมืองที่เป็นเขตส่งเสริมจำนวน 41 เมือง
(Click here for English version)
เมืองอัจฉริยะ |
เมืองอัจฉริยะคือ เมืองที่ผ่านการรับรองตราสัญลักษณ์เป็นเมืองอัจฉริยะ จากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะและได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
(Click here for English version)
![]() | ![]() |
สามารถดาวน์โหลดเอกสารสรุปข้อมูลแผนเมืองอัจฉริยะโดยคลิกที่รูปภาพของเมืองที่ต้องการ
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
(Click here for English) | (Click here for English) | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
(Click here for English) | ||||
(Click here for English) |
ดาวน์โหลด
การใช้งานบนพื้นหลัง ความเข้มระดับต่างๆ
เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ |
เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ คือ เมืองที่มีความต้องการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ และได้จัดส่งข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะมายังสำนักงานเมืองอัจฉริยะแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะเพื่อประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะ
(Click here for English version)
(Click here for English version)
(Click here for English version)
(Click here for English version)
แบบฟอร์มติดตามความคืบหน้าตามแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม
ยะลาเมืองอัจฉริยะเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
ฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน
การพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด (เชียงใหม่)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน
เมืองอัจฉริยะมักกะสัน เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
กิจกรรม Boot Camp |
The Smart City Ambassadors โครงการที่เฟ้นหาคนรุ่นใหม่ มีใจอยากพัฒนาภูมิลำเนา เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยได้มีการคัดเลือกคนรุ่นใหม่รักบ้านเกิด จำนวน 30 คน จากเมืองในเขตส่งเสริมและเมืองที่มีความสนใจจะยื่นขอเป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อเข้าร่วมโครงการ รวม 30 เมือง ใน 26 จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมและยกระดับทักษะสำคัญจำเป็นด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพร้อมตัวแทนหน่วยงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง หรือกัปตัน เพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เป็นระยะเวลารวมตลอดโครงการ 12 เดือน
Smart City Ambassadors ทั้ง 30 คน พร้อมกัปตัน จะได้ร่วมกันทำกิจกรรม ได้รับการถ่ายทอดความรู้ และทักษะจากวิทยากรชั้นนำ และตัวจริงในวงการการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ใน Smart City Boot Camp พร้อมได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และได้รับประกาศนียบัตรเมื่อจบโครงการ นอกจากนี้เหล่า Ambassadors ทั้ง 30 คนนี้ ยังมีโอกาสได้เสนอแนวคิดเพื่ิอร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในถิ่นฐานบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมโอกาสการร่วมงานกับเมืองและผู้ประกอบการด้านการพัฒนาเมืองในระยะยาว แถมยังมีค่าตอบแทนรายเดือน ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ คาดหวังว่าโครงการนี้เป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำงานด้านการพัฒนาเมืองต่อไป
แผนการดำเนินกิจกรรม |
หลักสูตร |
ตารางเรียน |
หมายเหตุ: กิจกรรมออฟไลน์ถูกเลื่อนออกไปเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการของรัฐบาล
ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ 28 ก.ย. 2564
ทำเนียบเด็ก 30 คน |
กิจกรรม Smart City Ambassador Boot Camp 27 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคม 2565 |
ภาพกิจกรรม
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ตารางกิจกรรม
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
คู่มือกิจกรรม
กิจกรรม The Smart City Ambassadors #2 |
รายชื่อพื้นที่/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ SCA#2 และสถานะการรับ Ambassador (ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2565)
ลำดับที่ | จังหวัด | ชื่อหน่วยงาน | สถานะความเป็นเมืองอัจฉริยะ | การรับสมัคร Ambassador | ||
เมืองอัจฉริยะ | เขตส่งเสริมฯ | อื่นๆ | ||||
1 | ตาก | เทศบาลเมืองตาก | x | Open | ||
2 | เชียงใหม่ | เทศบาลตำบลเวียงพร้าว | x | Open | ||
3 | เชียงใหม่ | สำนักงานเทศบาลตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง | x | Open | ||
4 | พิษณุโลก | เทศบาลนครพิษณุโลก | x | Open | ||
5 | ระยอง | เทศบาลนครระยอง | x | Open | ||
6 | เชียงราย | เทศบาลตำบลแม่สาย | x | Open | ||
7 | จันทบุรี | สำนักงานจังหวัดจันทบุรี | x | Open |
หมายเหตุ: รายชื่อพื้นที่/หน่วยงานที่แสดงนี้ จะมีเพิ่มเติมจนถึงวันที่ 10 มิ.ย. 2565
กิจกรรม สำหรับทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการพัฒนาพื้นที่เป็น Smart City |
:
>>> Smart City Ambassador ประจำเมือง ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยขับเคลื่อน ตลอดระยะเวลาโครงการ 1 ปี
>>> ได้เข้าร่วม Boot Camp และกิจกรรมยกระดับพัฒนาทักษะการพัฒนาเมือง จากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำเทคโนโลยีมากมาย
>>> Site Visit พื้นที่เมืองอัจฉริยะจริง
>>> ร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน หน่วยงานที่ส่งเอกสารครบสมบูรณ์ตามเงื่อนไขจะได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการก่อน
**ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระจายการพัฒนาที่ครอบคลุมทั่วประเทศ 1 จังหวัด กำหนดโควตาไม่เกิน 2 หน่วยงาน โดยเงื่อนไขนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสม
>>> หน่วยงานรัฐและเอกชน เจ้าของพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ เช่น เทศบาล อบต สำนักงานจังหวัด นิติบุคคลที่ถือครองพื้นที่ ฯลฯ
>>> มีผู้นำเห็นความสำคัญและเข้าใจเรื่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
>>> มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยเฉพาะ
>>> มีความพร้อมจะรับบุคลากรเข้าร่วมงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
>>> มีเจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมหลักสูตร The Fundamentals of Smart City ของ สศด. (สามารถเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/depa-csco)
หน่วยงานที่สนใจ กรอกแบบฟอร์มและส่งเอกสารการออนไลน์ ได้ที่ >> https://forms.gle/GtpmcKDCWsVsp3Zp9
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสมัคร >> https://bit.ly/เอกสารSmartCityAmbassador2
Clip ประมวลภาพกิจกรรม SCA1 >> bit.ly/SCA1_VDO
UPDATE รายชื่อหน่วยงานได้เข้าร่วมโครงการทาง website: www.smartcitythailand.or.th
สอบถามเพิ่มเติม >> 089-711-7057 (ทมะ), 090-978-2142 (ศิริพร)
ข้อมูลเกณฑ์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ >> https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan
กิจกรรมสำหรับคนรักบ้านเกิด |
ส่งเอกสารการสมัคร และ Clip VDO (ไม่เกิน 3 นาที) ได้ที่ >>> https://forms.gle/GtpmcKDCWsVsp3Zp9
ประกาศรับสมัคร >> https://bit.ly/เอกสารSmartCityAmbassador2
>>> รับเงินเดือน 17,000 บาท 1 ปี
>>> ร่วมกิจกรรม Smart City Ambassador Boot Camp ยกระดับทักษะพัฒนา Smart City สุดเข้มข้น เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่
>>> ได้รับประกาศนียบัตรพร้อมโอกาสร่วมงานกับเมืองและผู้ประกอบการด้านการพัฒนาเมือง
Clip ประมวลภาพกิจกรรม SCA1 >> bit.ly/SCA1_VDO
สอบถามเพิ่มเติม >> 089-711-7057 (ทมะ), 090-978-2142 (ศิริพร)
โครงการ depa Smart Living Solution |
![]() | |
![]() | ![]() |
![]() | |
![]() |
แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง |
แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform: CDP) เป็นการผสานกันระหว่างเทคโนโลยีกับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงข้อมูล ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและนำไปสู่การวิเคราะห์คุณภาพการพัฒนาและให้บริการของเมืองที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองอัจฉริยะที่มองความต้องการและปัญหาของประชาชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเมืองที่ยั่งยืน การพัฒนาของแต่ละเมืองมีแนวทางที่หลากหลายทั้งด้านประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละด้านมีการพัฒนาระบบให้บริการแก่ประชาชนที่แยกจากกัน และมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทำให้ข้อมูลของเมืองที่เกิดจากบริการต่างๆ เหล่านี้กระจัดกระจายกันอยู่และไม่ได้ถูกนำมาบูรณาการเพื่อต่อยอดการพัฒนาอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่นในพื้นที่ที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ปริมาณขยะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวและการปริมาณของนักท่องเที่ยวก็ส่งผลถึงปัญหาขยะที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อีกทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจจากท่องเที่ยวและการบริหารสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสังคมด้วย ถือเป็นผลกระทบที่สัมพันธ์กันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแล้วการวางแผนและติดตามการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพของเมืองจำเป็นต้องมีการบูรณาการข้อมูลจากหลากหลายด้าน ซึ่งจะช่วยให้เมืองตอบสนองต่อความต้องการอย่างต่อเนื่องและสามารถส่งมอบบริการที่ดีขึ้น ตอบสนองต่อวิกฤตต่างๆ ได้้รวดเร็วยิ่งขึ้น เมืองอัจฉริยะต่างๆ ทั่วโลกจึงมีการพัฒนา CDP ขึ้นเป็นศูนย์การประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของเมือง รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงความสอดคล้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลนำไปสู่ข้อมูลที่มีคุณภาพดีขึ้น นำไปสู่วัฒนธรรมที่ดีขึ้นของการแบ่งปันข้อมูล และทำให้ประชาชนได้้รับทราบข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทยได้กำหนดให้การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเป็นหนึ่งองค์ประกอบหลักของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในทุกๆ เมือง
“แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform: CDP) คือ แหล่งรวบรวมข้อมูลดิจิทัล ที่รองรับการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในเมือง อย่างเป็นระบบ พร้อมใช้ ปลอดภัย และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดกับเมือง”
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกรอบโครงสร้างของ CDP และสามารถนำไปพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) หรือ depa (ดีป้า) ได้จัดทำกรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง พร้อมกับพัฒนาต้นแบบระบบสนับสนุนการวางแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยข้อมูล ซึ่งประยุกต์ใช้กรอบฯ ดังกล่าว ทุกท่านสามารถเข้าชมข้อมูลและการใช้งาน และดาวน์โหลดข้อมูลเปิดของเมืองต่างๆ ได้ที่ www.citydata.in.th
กรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform Framework) |
กรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform Development Framework) ได้ถูกจัดทำและนำเสนอภาพรวมให้เห็นว่า CDP นั้นคืออะไร และมีประโยชน์กับเมืองอย่างไร ผ่านตัวอย่างจริงในหลาย ๆ เมืองทั่วโลก นำมาสรุปยกตัวอย่างและขั้นตอนการพัฒนา CDP แต่ละส่วนประกอบ ตั้งแต่นโยบาย การบริหารจัดการ ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคนิค จนไปถึงเรื่องของข้อกำหนดและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและนำไปดำเนินการจริงได้ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในเมืองต่อไป
ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสาร กรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (City Data Platform Development Framework) และเอกสารอื่นๆ ได้ที่ https://www.citydata.in.th/เอกสารเผยแพร่/
ข่าวประชาสัมพันธ์ |
[08-04-2022] เปิดตัวโครงการ depa Smart Living Solution ระหว่าง depa และหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ |
ประกาศและคำสั่ง
การรับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ
การประกาศเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ
คำสั่งจัดตั้งสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานเมืองอัจฉริยะ
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานประเมินแผนการเป็นเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
ประกาศการมอบตราสัญญาลักษณ์ฯ 1_2564
ประกาศการมอบตราสัญญาลักษณ์ฯ 2_2564
คู่มือและแบบฟอร์ม
คู่มือเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (ส.ค. 2564)
แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (มิ.ย. 2564)
การใช้งานบนพื้นหลัง ความเข้มระดับต่างๆ
เมืองอัจฉะริยะประเทศไทย
ภาคกลาง
1 คลองผดุงกรุงเกษม (กรุงเทพมหานคร)
2 เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 (กรุงเทพมหานคร)
3 สามย่านสมาร์ทซิตี้ (กรุงเทพมหานคร)
4 เมืองอัจฉริยะมักกะสันฯ (กรุงเทพมหานคร)
ภาคตะวันออก
5 ฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ฯ (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
6 แสนสุขสมาร์ตซิตี้ (จังหวัดชลบุรี)
7 เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ (จังหวัดระยอง)
ภาคใต้
8 ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ (จังหวัดภูเก็ต)
10 ยะลาเมืองอัจฉริยะฯ (จังหวัดยะลา)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
11 ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ (จังหวัดขอนแก่น)
ภาคเหนือ
12 การพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด (จังหวัดเชียงใหม่)
13 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน (จังหวัดเชียงใหม่)
14 นครสวรรค์สมาร์ตซิตี้ (จังหวัดนครสวรรค์)
15 แม่เมาะเมืองน่าอยู่ (จังหวัดลำปาง)
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สิทธิประโยชน์จากบีโอไอสำหรับเมืองอัจฉริยะ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
มาตรการส่งเสริมสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Startup Fund)
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการให้ทุนศึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Scholarship)
เอกสารเผยแพร่ อื่นๆ
Press Thailand Smart City Week 2020 (SCW2020) EN
City at the Next Level: ยกระดับทักษะ เปิดโอกาสสู่อาชีพและสร้างรายได้ ไปกับเมืองในยุคดิจิทัล |
โครงการ City at the Next Level: ยกระดับทักษะ เปิดโอกาสสู่อาชีพและสร้างรายได้ ไปกับเมืองในยุคดิจิทัล
เพื่อพัฒนาชุดความรู้และเทคนิคการใช้ดิจิทัลที่จะเพิ่มทักษะสำคัญในยุคใหม่ และโอกาสของการสร้างรายได้ ให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงทุกที่ ทุกเวลา แบบไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมได้ประกาศนียบัตร และสามารถใช้ลงทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มพลเมืองอัจฉริยะ ให้คุณอยู่อย่างทันสมัย ในเมืองอัจฉริยะ
พร้อมลงทะเบียนลุ้นรับรางวัล การเป็นพลเมืองอัจฉริยะ (ทุกต้นเดือน มี.ค., ก.ค. และ พ.ย.) <<< เน้นๆ
เป้าหมาย
เทคนิคความรู้ 4 กลุ่ม
4 ขั้นตอนการสมัคร
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่นี่ https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan หรือ https://www.facebook.com/SmartCityThailandOffice/
หลักสูตรพื้นฐานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ CSCO |
หลักสูตร Smart City จากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ที่จะช่วยสร้างคุณให้เป็นผู้นำเมืองอัจฉริยะ
คอร์สออนไลน์ที่เป็นพื้นฐานองค์ความรู้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สำหรับคนทั่วไปที่ต้องการเข้าใจความรู้พื้นฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักสูตรผู้นำเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ Chief Smart City Officers: CSCO
คอร์สนี้ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้
หลังจากผ่านการอบรมครบทุกองค์ประกอบ และผ่านแบบทดสอบตามหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตร
เว็บไซต์ click เพื่อเข้าเรียนหลักสูตร
SCW2020 |
Thailand Smart City Week 2020 (SCW2020) – Thailand’s festival of smart city where city leaders meet technological movers and shakers to exchange and transform the next generation of smart cities
เว็บไซต์ คลิก