การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ |
เมืองอัจฉริยะ: เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน
ขั้นตอนขอรับการส่งเสริมเป็นเมืองอัจฉริยะ
(Click here for English version)
ขั้นตอน
ขั้นตอนในการสมัครขอรับพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย 4 ขั้นตอนคือ
ส่งข้อเสนอโครงการ ที่ [email protected] หรือ สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย Smart City Thailand Office ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อาคารลาดพร้าว ฮิลล์ เลขที่ 80 ถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 4 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
รับรองสถานะเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ
เข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นเมืองอัจฉริยะ
ประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะ
คุณสมบัติผู้สมัคร
หน่วยงานที่ขอรับการพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สิทธิประโยชน์และเครื่องมือการส่งเสริม |
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนาทั้งพื้นที่ ระบบ และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับการเป็นประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกิจการ ได้แก่
กิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (หมวด 7.31) กำหนดเงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน ต้องจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่พร้อมรองรับระบบอัจฉริยะด้านต่างๆ จัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม (Smart Environment) และจะต้องลงทุนจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อีกอย่างน้อย 1 ด้าน จาก 6 ด้าน (Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy) ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลโดยมีการเชื่อมโยงหรือการให้ใช้งานข้อมูลในการบริหารจัดการและให้บริการในพื้นที่เมืองอัจฉริยะ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
ผู้ขอรับการส่งเสริมฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี (จำกัดวงเงิน) และในกรณีที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สิทธิประโยชน์จากบีโอไอสำหรับเมืองอัจฉริยะ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เครื่องมือการส่งเสริมของ depa
มาตรการส่งเสริม
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Startup Fund)
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการให้ทุนศึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Scholarship)