ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่จะได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยจึงเป็นกลุ่มประเทศแรกในการให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่มุ่งเน้นการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และ 1.5 องศาเซลเซียส ตามลำดับ เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันภายใต้การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2573 และจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยในการประชุมครั้งนี้ 200 ประเทศมีพันธสัญญาที่จะต้องยื่นแผนการลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2030 ประเทศไทย โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 หรือ ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ. 2608 หรือ ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution หรือ NDC) ของประเทศขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี พ.ศ. 2593 หรือ ค.ศ. 2050
ภาพจาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47700
มีการศึกษาแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ใช้ข้อมูล GDP ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด ซึ่งอาจสูงถึง 657.67 MtCO2eq ใน พ.ศ. 2573 และมากถึง 1,250 MtCO2eq ใน พ.ศ. 2593
ภาพจาก: https://www.tgo.or.th
ปัจจุบันผู้คนเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น การรับส่งข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้น ความต้องการแหล่งเก็บข้อมูลและอุปกรณ์ดิจิทัลที่ใช้พลังงานสูงก็เพิ่มสูงขึ้นควบคู่กันไปด้วย และผู้บริโภคก็มีความต้องการอุปกรณ์ดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดจากการผลิตอุปกรณ์ดิจิทัล การใช้พลังงานที่เกิดจากการใช้งาน รวมไปถึงการกำจัดอุปกรณ์ดิจิทัลเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน แต่หากใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้มีแนวทางการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนำไปสู่ความยั่งยืนของโลกใบนี้ โดยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนี้
ภาพจาก: https://alivesonline.com
ภาพจาก: https://www.techhub.in.th/artificial-intelligence-industry
.
ภาพจาก: https://www.techtalkthai.com
ภาพจาก: https://www.theeleader.com/news-enterprise/ai-create-a-smart-home
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อ ตอบสนองต่อการรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และ 1.5 องศาเซลเซียส และตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของท่านนายกรัฐมนตรีในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ. 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ. 2608 ทั้งนี้ ยังคงต้องอาศัยทุกภาคส่วนช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อโลกของเรา
โดย นายณัฐพล ยิ่งศักดา
ฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิง