ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของภาคการเกษตรไทย จากการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรอัจฉริยะ การเกษตรแบบแม่นยำ ซึ่งตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าของการเกษตรโดยเฉพาะกับพืชอย่างข้าวที่ถือเป็นพืชหลักของประเทศไทยมาอย่างช้านาน แต่ชาวนาที่เป็นแรงงานส่วนใหญ่ในภาคการเกษตร ก็ยังคงประสบปัญหากับต้นทุนการเพาะปลูกที่สูงขึ้น ผลผลิตไม่สูงตามการลงทุน ก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพาะปลูกข้าวที่ไม่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ คือ ปัญหาพื้นที่นาไม่สม่ำเสมอที่จะก่อให้เกิดปัญหา อาทิ การจัดการน้ำในพื้นที่นา การควบคุมวัชพืช การเพาะปลูกไม่ได้ผลเต็มศักยภาพการผลิตของพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากปัญหาความราบเรียบ หรือลุ่ม-ดอนของพื้นที่ ซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การใช้เทคโนโลยีปรับระดับพื้นที่ในนา การปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser Land Leveling) โดยเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในการเตรียมดินและการปรับระดับหน้าดินนาอย่างแม่นยำ ตลอดจนการดูแลแปลงหลังการปรับระดับ ทำให้ชาวนาสามารถลดต้นทุนการผลิตที่ไม่กระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ เนื่องจากช่วยลดการปล่อยลดการเกิดก๊าซมีเทน การจัดการน้ำ การควบคุมวัชพืช การใส่ปุ๋ย ตลอดจนการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ภาพที่ 1 LASER LAND LEVELLING: HOW IT STRIKES ALL THE RIGHT CLIMATE-SMART CHORDS ปี 2015, Climate Change, Agriculture and Food Security
ถ้าพื้นที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้การจัดการน้ำในแปลงนาไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมวัชพืช ในนาข้าวได้ การใส่ปุ๋ยและปัจจัยการผลิตในนาข้าวกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้จึงลดลง ผลที่ได้จากการปรับระดับพื้นที่ด้วยเลเซอร์
ภาพที่ 2 อุปกรณ์เทคโนโลยีปรับพื้นที่ด้วยเลเซอร์ (Laser Land Leveling)
สำหรับเทคโนโลยีปรับพื้นที่ด้วยเลเซอร์ (Laser Land Leveling) ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
การปรับระดับพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญที่นอกจากจะทำให้พื้นที่เรียบ สม่ำเสมอแล้ว ยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว การจัดการน้ำในแปลงนา และประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดวัชพืช เทคโนโลยีนี้นิยมใช้ในงานทางการเกษตรของประเทศอินเดีย จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายหรือรู้จักกันมากนัก ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐภายใต้สังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างกรมการข้าวได้มีการดำเนินการร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมันประจำประเทศไทย (GIZ) ในโครงการ Thai Rice NAMA ที่มีการผลักดันให้เกิดการใช้งานในชาวนากลุ่มจังหวัดภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา และปทุมธานี นอกจากการใช้งานแล้ว ยังผลักดันให้เกิดผู้ให้บริการปรับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ที่จะช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ผ่านโครงการ ซึ่งในการดำเนินงานโครงการก็ได้มีการเก็บข้อมูลเพื่อสรุปผลที่สอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่ช่วยลดต้นทุน การจัดการน้ำ การกำจัดวัชพืช และทำให้ข้าวได้ผลผลิตมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับชาวนาไทยต่อไปในอนาคต โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภาพที่ 3 การทดสอบเทคโนโลยีการปรับพื้นที่นาด้วยเลเซอร์ในพื้นที่นาเขตชลประทานภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ปี 2563, ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
โดย นายวิศิษฏ์ ไหมเพ็ชร
ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิงจาก: