ภาคการเกษตร เป็นแหล่งสร้างรายได้สำคัญให้แก่ประชากรจำนวนมากของประเทศไทย และเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน โดยวิวัฒนาการของเกษตรกรรมไทย เริ่มต้นด้วยการใช้แรงคน และต่อมาได้มีการนำเครื่องจักรมาใช้ทุ่นแรงในการเพาะปลูก ปัจจุบันการเกษตรของไทย ได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และลดการสูญเสีย
เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลยอดฮิต ที่เกษตรกรไทยเลือกใช้ เพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ได้แก่
ทั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านเกษตร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และด้วยโลกปัจจุบันไร้พรมแดน จึงทำให้การเชื่อมโยงการสื่อสารจากเครือข่ายเกษตรกรทั่วโลกทำได้อย่างง่ายดายและทันที ซึ่งเกษตรกรไทยยุคใหม่ สามารถศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรจากทั่วโลกได้ตลอดเวลา โดยแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร ที่สำคัญคือ “การทำเกษตรด้วยหุ่นยนต์ แทนการใช้มนุษย์” การเพาะปลูกโดยใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ เริ่มเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องด้วยมนุษย์ไม่ต้องเข้ามาจัดการเพาะปลูกด้วยตนเอง โดยให้หุ่นยนต์มาทำหน้าที่แทน ตั้งแต่ หว่านเมล็ด รดน้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรในปัจจุบันเป็นมากกว่าเครื่องทุ่นแรง เพราะไม่เพียงแต่ช่วยลดระยะเวลาและลดการใช้แรงงาน หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรหลายชนิดสามารถใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน ขณะที่หุ่นยนต์บางชนิดสามารถควบคุมปริมาณการใช้น้ำและปริมาณการใช้ยากำจัดแมลง และกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งเกษตรกรทั่วโลกรวมถึงไทย มีความต้องการ เพื่อทดแทนแรงงานคน และแก้ไขข้อจำกัดของมนุษย์ที่ไม่สามารถทำได้ในการเพาะปลูก เช่น การมีความแม่นยำ การสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่เกษตรกรจนถึงมือผู้บริโภค เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว การบรรจุ ไปจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ได้นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการทำเกษตร และคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2568 จำนวนการใช้หุ่นยนต์เพื่อเกษตรกรรมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าตลาดหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรสูงถึง 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.27 จากปี พ.ศ.2562 (BIS Research)
ตัวอย่างหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรแบ่งตามประเภทการทำงาน
ที่มา : https://www.planttape.com
PlantTape: บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์การเกษตรจากสหรัฐอเมริกา ที่ขายหุ่นยนต์ในกระบวนการเพาะเมล็ด อนุบาล และหว่าน โดยใช้ในการปลูกมะเขือเทศ และกัญชา โดยออกแบบดินเพาะเมล็ดเสมือนเป็นแถบเทป เพื่อให้กระบวนการเพาะปลูกรวดเร็วยิ่งขึ้น
Harvest croo: บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรการเกษตรจากอเมริกา ที่ขายหุ่นยนต์ในการปลูก ดูแล และเก็บเกี่ยวสตรอเบอร์รี่
ที่มา: https://www.agrobot.com
Bug Vacuum โดย บริษัท AGROBOT ผู้ผลิตเครื่องจักรการเกษตรจากสเปน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ด้วยหุ่นยนต์ที่มีมีพัดลมภายใน คอยดูดแมลงออกจากแปลง
ที่มา: https://www.spread.co.jp/en/product
บริษัท SPREAD : ผู้พัฒนาระบบการปลูกพืชในโรงเรือนของประเทศญี่ปุ่น พัฒนาโรงเรือนที่ใช้หุ่นยนต์ 100% ในชื่อTechno Farm™. โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีโรงงานปลูกผักสลัด และวางขายในแบรนด์ VEGETUS
ที่มา: https://www.ironox.com/technology/
บริษัท IRON OX : Startup จากสหรัฐอเมริกา ผู้พัฒนาระบบการปลูกพืชในโรงเรือนด้วยหุ่นยนต์ตั้งแต่เป็นเมล็ด จนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยพัฒนา AI ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่จำเป็นในการปลูกพืช ได้แก่ น้ำ อุณหภูมิ แสง และแร่ธาตุ มีแขนกลที่ติดตั้งกล้อง และเซ็นเซอร์ในการรับข้อมูล นอกจากนี้ ยังมี Gover และ Phi หุ่นยนต์ผู้ช่วยตัวจิ๋ว ที่คอยทำงานดูแลผลผลิตในโรงเรือน
แนวโน้มการนำหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ในการเกษตรจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ดังนั้น ประเทศไทย จึงควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เนื่องจากการทำงานของหุ่นยนต์จำเป็นต้องมีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบควบคุม เซ็นเซอร์และหุ่นยนต์ ตลอดจนเกษตรกรไทย ควรเตรียมปรับตัว เร่งพัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน
นายนรเศรษฐ พัฒน์ใหญ่
นักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคตะวันออก
อ้างอิง