ภาพที่ 1 “งานประกาศการรับรองโซเฟียเป็นพลเมืองซาอุดิอาระเบีย”
Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ ปัจจุบันถูกเรียกในชื่อ “จักรกลอัจฉริยะ” โดยมุ่งเน้นนำมาใช้งานด้านการคิด การวิเคราะห์ หรือเลียนแบบพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ จึงทำให้ AI ถูกนำไปใช้งานในหลากหลายรูปแบบเหมือนมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถทำงานได้ตลอดเวลาและผิดพลาดน้อยมาก
ในงาน South by Southwest Festival (SXSW) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2015 บริษัท Hanson Robotics ได้เปิดตัว โซเฟีย (Sophia) หุ่นยนต์มนุษย์ที่พัฒนาขึ้นโดย โดย David Hanson เป็นหัวหน้าทีมวิศวกร และนักออกแบบผู้สร้างโซเฟียขึ้นมา โดยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Audrey Hepburn อดีตนักแสดงสาวที่เสียชีวิตไปแล้ว และภรรยาของ Hanson เป็นบุคคลต้นแบบ ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 ได้มีการรับรองสิทธิการเป็นบุคคลโดยได้รับสัญชาติซาอุดิอาระเบีย ให้แก่ โซเฟีย (Sophia) ซึ่งการรับรองนี้เรียกว่า “บุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic person)” เนื่องด้วยความเหมือนมนุษย์ทั้งรูปร่าง การเดิน การมีความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ผิวหนังทำจากซิลิโคนที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและมีความสมจริง รวมถึงการที่ “โซเฟีย” สามารถจดจำ สื่อสาร ตอบโต้ และแสดงสีหน้า (กว่า 62 รูปแบบ) ได้อย่างชาญฉลาดตลอดเวลา ซึ่งการรับรองสิทธิดังกล่าวนำไปสู่ประเด็นทางกฎหมายว่าควรรับรองให้ปัญญาประดิษฐ์เป็นบุคคลตามกฎหมายหรือไม่
ในทางกฎหมายของประเทศไทย บุคคลธรรมดา หรือบุคคล (Natural Person) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คือ “มนุษย์ทั้งปวงจะเป็นหญิง ชาย เด็ก คนชรา หรือผู้บกพร่องในความเป็นคนวิกลจริตอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามถือเป็นบุคคลธรรมดาทั้งสิ้น” ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 ที่ว่าด้วย “สภาพบุคคลย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก” จะเห็นได้ว่าการนับเป็นบุคคลตามกฎหมายไทยนั้น คือ จะต้องคลอดจากครรภ์ของมารดาเท่านั้น ดังนั้น ข้อจำกัดนี้จึงทำให้ AI ไม่สามารถนับเป็นบุคคลได้ ถึงแม้ว่า AI มีความเหมือนมนุษย์มากก็ตาม ทั้งนี้ ศาลฎีกาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2559 ได้วางแนววินิจฉัยตลอดจนให้เหตุผลถึงการมีสภาพบุคคลของบุคคลธรรมดา ซึ่งสรุปได้ว่า “สภาพบุคคลของบุคคลธรรมดานั้นย่อมต้องผูกติดกับการทำงานของอวัยวะสำคัญอย่างสมอง และการมีศักยภาพในการคิด”
ทฤษฎีการรับรองสิทธิให้กับบุคคล แบ่งเป็น
ภาพรวม AI กับสังคมไทยในอนาคต
โลกในยุคปัจจุบันมีกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมโลกที่มีการปรับเปลี่ยนทุกขณะ ซึ่งนำมาสู่การปรับตัวของมนุษย์ในวิถีชีวิต มุมมองต่อสังคมและอื่นๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น กล่าวคือนับจากนี้ AI จะมีความเหมือนมนุษย์มากขึ้นจนถึงจุดที่ความแตกต่างระหว่าง AI กับมนุษย์นั้นไม่มีอยู่อีกต่อไป และสังคมของเหล่า AI จะตั้งคำถามต่อกันถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองจนสามารถเป็นคำถามใหญ่ต่อสังคมมนุษย์ในเวลาต่อมาถึงการเลือกแนวทางการอยู่ร่วมกันในรูปแบบใด ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้มีการทบทวนและพิจารณากฎหมายต่างๆ ตามความเหมาะสมเพื่อปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามช่วงเวลา โดยสังคมไทยในอนาคตอันใกล้จะต้องบัญญัติสภาพการเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลให้กับ AI และคนไทยจะใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง โดยมีหุ่นยนต์ AI อยู่รอบข้าง ทำกิจกรรมร่วมกัน มีอาชีพ มีครอบครัว
การปรับตัวของคนไทย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ AI
การปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนไปนั้นคือธรรมชาติและความโหยหาการเอาชีวิตรอดของมนุษย์เรามาโดยตลอด เช่นเดียวกับคนไทยที่เจอจุดเปลี่ยนผันทางประวัติศาสตร์สุดขั้นและต้องปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดในโลกยุคใหม่หลายครั้ง แต่ก็สามารถปรับตัวและเอาตัวรอดมาได้เสนอ เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่จะต้องทำสิ่งเหล่านั้นอีกครั้ง แต่สิ่งที่น่ากังวลคือทิศทางของสังคมหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างหาก โดยเราสามารถใช้หลักการมนุษยศาสตร์และจิตวิทยาในการจัดการรูปแบบสังคม การแสดงออก เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด พฤติกรรมของคนไทยให้สามารถรับมือกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างถึงทฤษฎีของ อาร์คอฟ ซึ่งให้ความหมายของการปรับตัว คือ “การที่บุคคลปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ การที่แต่ละบุคคลพยายามที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการและเป้าหมายที่ตนเองต้องการ แต่ในขณะเดียวกันบุคคลก็อยู่ภายใต้ความกดดันจากสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมนั้นจึงทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวสู่ความสมดุลระหว่างบุคคลและความต้องการของสิ่งแวดล้อม”
โดย นายกุลธวัช คำแมน
สาขาภาคตะวันออก
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิง