การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G เป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก 5G เป็นปัจจัยสำคัญ ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital transformation)
สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยี 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 10 เท่า เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างประโยชน์ให้กับภาคเศรษฐกิจในระยะยาว เทคโนโลยี 5G ถือเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปและพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ยุคดิจิทัล โดยหนึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยคือ อุตสาหกรรมการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Telemedicine) เป็นต้น
คุณสมบัติของ 5G
5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็วอัพโหลดและดาวน์โหลดบนเครือข่ายไร้สายให้เสถียรและเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 10 กิกะบิทต่อวินาที (Gbps) ในขณะที่ 4G นั้นสามารถทำได้สูงสุดที่ 1 Gbps เท่านั้น
ที่มา: https://www.checkraka.com/mobilephone/knowledge/1709648/
การประยุกต์ใช้ 5G ในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์
ในปัจจุบันการเข้าถึงการรักษาโรคนั้น มีเพียงทางเลือกเดียว คือผู้ป่วยต้องเดินทางไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก แต่สำหรับผู้คนในพื้นที่ห่างไกล อาจต้องใช้เวลานานในการเดินทางหรืออาจเป็นไป ไม่ได้เลย ดังนั้น Telemedicine และระบบตรวจสอบติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล จึงมีความสำคัญในการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุขของประเทศ
อย่างไรก็ตาม Telemedicine และระบบตรวจสอบติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล จำเป็นต้องมี การส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วระดับ Gbps เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ภาพที่มีความละเอียดสูง และ การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ซึ่งมีจำนวนข้อมูลบนเครือข่ายมหาศาล โดย 5G สามารถตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ได้ และในปัจจุบันมีแนวโน้มการประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์ ดังต่อไปนี้
ประโยชน์และข้อจำกัดของการประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์
ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์ของไทย ประการแรกคือ การที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายด้านการแพทย์ที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากแต่มีคุณภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขัน และมีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำทางการแพทย์ในลำดับต้นๆ ของโลก ประการที่สองคือ การสร้างโอกาส การเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้อย่างเท่าเทียมและสามารถลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการดูแลจากจากโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ อย่างไรก็ตามแม้การประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์จะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่ยังไม่เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังมีปัญหาในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ รวมถึงความเชื่อมั่น ของคนไข้ในพื้นที่ห่างไกลในการรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
สรุป
การประยุกต์ใช้ 5G ด้านการแพทย์ ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์วินิจฉัยโรค อย่างรวดเร็ว พัฒนาการรักษาแบบ Telemedicine โดยใช้ AR และ VR การประยุกต์ใช้ AI ในการวินิจฉัยโรค และการติดตามผู้ป่วยจากระยะไกล ซึ่งถือเป็นการพัฒนาบริการด้านการแพทย์อย่างก้าวกระโดด แต่อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ทางด้านการแพทย์นั้น มีความจำเป็นต้องอาศัยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม บุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ การจัดเก็บและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความตระหนักการรับรู้แก่ประชาชน เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลด้านการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิงจาก