ทั่วไปแล้ว เราจะได้ยินคำว่า “บล็อกเชน” ในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน (FinTech: Financial Technology) เป็นส่วนใหญ่ ในบทความนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม โดยเทคโนโลยีบล็อกเชน ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรกรรมเกษตรและอาหาร ตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน
บล็อกเชน (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งเป็นระบบโครงข่ายในการเก็บข้อมูลหรือธุรกรรม ทางการเงิน และสินทรัพย์อื่นๆ โดยไม่ต้อง ผ่านบุคคลที่สาม และยากต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลถ้าไม่ได้รับการเห็นชอบจาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) หรือกล่าว อีกนัยหนึ่ง บล็อกเชน จะเปรียบเสมือนการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่สามารถแชร์ข้อมูลเป็นห่วงโซ่ หรือ Chain โดยที่เราสามารถทราบได้ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลชุดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อข้อมูลถูกบันทึกไว้ใน Blockchain แล้วจึงยากต่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การจัดการห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Supply Chain Management) เป็นการจัดการกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งกระบวนการของธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารเชิงบูรณาการ กล่าวคือ เป็นการเชื่อมโยงกระบวนการ เช่น ผู้ค้าส่ง ผู้ผลิต ผู้แปรรูปขั้นต้น ผู้แปรรูปขั้นสุดท้าย การขนส่ง ผู้บริโภค ผู้ค้าปลีก โดยกระบวนการต่างๆ เชื่อมโยงกันด้วยการใช้ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ร่วมกัน ระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การอำนวย ความสะดวกจากภาครัฐ เป็นต้น ระบบ EDI (Electric Data Interchange) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่ทำให้ทั้งโซ่อุปทานเกิดความสำเร็จ และเมื่อ รวมกันเป็นจำนวนมากจะทำให้มีการต่อเนื่องกันเป็นโครงข่ายแมงมุมที่สำเร็จร่วมกัน
บล็อกเชนเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจุบันบริษัทอุตสาหกรรมอาหารยักย์ใหญ่และซุปเปอร์มาเก็ตในยุโรป เช่น เนสท์เล่ คาร์ฟูร์ สตาร์บัค ได้ริเริ่มนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถติดตามการผลิตตั้งแต่โรงงาน ที่ตั้งของคลังสินค้า ตลอดจนสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรได้อีกด้วย
ในปี 2562 สถาบันทางการตลาดด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา (The United States-based Food Marketing Institute: FMI) เปิดเผยว่า ผู้บริโภคมีความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยมีความต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคอาหารมากที่สุด และจากรายงานพบว่า 75% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปการบริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัทรายใหม่ที่ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในเชิงลึกมากกว่า
ในปลายปี 2561 บริษัทไอทียักย์ใหญ่ ไอบีเอ็ม (IBM) เปิดตัวแพลตฟอร์ม IBM Food Trust ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ถูกพัฒนาร่วมกับผู้ประกอบการค้าปลีก ซุปเปอร์มาเก็ต และบริษัทอุตสาหกรรมอาหารชั้นนำ เช่น Walmart Nestle Dole Food Unilever เป็นต้น เพื่อใช้ติดตามแหล่งที่มาของอาหาร โดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจตั้งแต่ 100 ถึง 10,000 USD
เทคโนโลยีบล็อกเชนเมื่อถูกนำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร แล้วพบว่าเป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยเกษตรกรหรือผู้ผลิตสามารถอธิบายวัตถุดิบและกระบวนการผลิตได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อยังสามารถตรวจสอบที่มาของผลิตภัณฑ์ตลอดจน Supply Chain ได้อย่างถูกต้อง
กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchains) ได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย ข้อมูลที่ได้รับสามารถตรวจสอบได้ แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งควรได้รับความร่วมมือจากภาคทุกส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ผู้ผลิตขั้นต้น โรงงานแปรรูป ระบบขนส่ง ซุปเปอร์ มาเก็ต เป็นต้น
โดย ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิงจาก