วันที่ 1 ก.ค 64 เป็นวันเริ่มต้นของโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสและต้องการเดินทางเข้าประเทศ สามารถเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องอยู่ในจังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา 14 วัน (ต่อมาปรับลดเหลือ 7 วัน) ก่อนที่จะอนุญาตให้เดินทางไปยังพื้นที่อื่นในประเทศไทย หากผลตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 โดยมีกฎเกณฑ์ตามที่ได้ประกาศคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ที่ 7/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 11) โดยสรุปดังนี้
ซึ่งจากเงื่อนไข กฎเกณฑ์ และ Standard Operation Procedure (SOP) ต่างๆ เป็นที่มาในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้งาน เพื่อให้อำนวยความสะดวกให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ก่อนเดินทาง-เดินทางมาถึง-ระหว่างพัก-ก่อนเดินทางออกจากภูเก็ต และยังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการกำกับโครงการฯ ให้เป็นไปตามคำสั่ง เงื่อนไข ในราชกิจจานุเบกษาอีกด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง ก่อนเริ่มโครงการฯ
ย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการฯ เป็นช่วงในการเตรียมตัวให้จังหวัดภูเก็ตพร้อมกับการรับนักท่องเที่ยว โดยมีแนวคิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ควบคู่กับควบคุมโรคตามมาตรการทางสาธารณสุข จึงจะต้องมีการจัดการให้จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัยด้วย ซึ่งปัจจัยหลักคือ การฉีด วัคซีน ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งผู้บริหารจังหวัด ส่วนราชการ ภาคเอกชน ทำให้จังหวัดภูเก็ตได้รับวัคซีนอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้การรับวัคซีนของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านการกระจายวัคซีนและการป้องกันการติดโรคโควิดแบบคลัสเตอร์ จึงได้มีการวางแผนโดยเริ่มจากการจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีน ที่แยกตัวจากโรงพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากจะได้ไม่ไปเพิ่มความแออัดของผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล และหากเกิดการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลจนทำให้มีการปิดบริการในบางส่วน และบุคลากรทางการแพทย์ต้องกักตัวตามมาตรการการควบคุมโรค อาจส่งผลกระทบวงกว้าง
เมื่อจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนแล้ว ก็คำนึงต่อว่าจะจัดการการฉีดวัคซีนอย่างไร ซึ่งทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และผู้ประกอบการดิจิทัลในเครือข่าย ได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อเข้ามาจัดการชื่อว่า “ภูเก็ตต้องชนะ.com” ดังภาพที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ลงทะเบียนผู้ประสงค์รับวัคซีน 2) การจองรอบการรับวัคซีน โดยระบบรับจองรับวัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้ว จำนวน 452,130 ราย เข็มที่ 2 ไปแล้ว จำนวน 420,472 ราย และ Booster dose เข็มที่ 3 ไปแล้ว จำนวน 159,754 ราย (ข้อมูลจากระบบภูเก็ตต้องชนะ.com ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2564)
ภาพที่ 1 ระบบภูเก็ตต้องชนะ.com
โดยปลายเดือนมิถุนายนประชากรในจังหวัดภูเก็ต รับวัคซีนเข็มที่ 2 เกินกว่าร้อยละ 70 ทำให้จังหวัดภูเก็ตเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ตามทฤษฎีภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ซึ่งเป็นภาวะที่ประชากรส่วนมากของสังคมมีภูมิคุ้มกันโรค โดยคิดเป็นสัดส่วนจำนวนคนที่สูงมากพอจนช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตได้ นับเป็นสัญญาณความพร้อมแรกของจังหวัดภูเก็ตในการจจะเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่กักตัว
โดยเทคโนโลยีดิจิทัลในโครงการ Phuket Sandbox ในช่วงก่อนเดินทาง-เดินทางมาถึง-ระหว่างพัก และก่อนเดินทางออกจากภูเก็ต ซึ่งมีเทคโนโลยีดิจิทัลภายในโครงการ Phuket Sandbox 4 ระบบหลัก ดังนี้
ภาพที่ 2 แสดงเส้นทางของนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลภายในโครงการ Phuket Sandbox (ที่มา สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนบน, 2564)
ซึ่งเริ่มจากนักท่องเที่ยวจะต้องลงทะเบียนขอเข้าประเทศ ซึ่งจะต้องยื่นหลักฐานเข้าระบบ COE โดยหลักฐาน 2 อย่างที่ได้จากระบบ ได้แก่ หลักฐานการจองและชำระค่าโรงแรมที่พักที่ได้รับมาตรฐาน SHA+ ซึ่งได้จากระบบ SHABA และหลักฐานการจองและชำระค่าตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากระบบ PSAS
จากนั้นก็รอการอนุมัติจากระบบ COE หากได้รับการอนุมัติก็สามารถเดินทางมาได้ เมื่อเดินทางมาถึงสนามบินนานาชาติภูเก็ต ก็จะผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ และเข้าการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ครั้งที่ 1 ตามที่ได้จองไว้ในระบบ PASA
จากนั้นเดินทางไปรอผลตรวจที่โรงแรมด้วยรถโดยสารที่ได้มาตรฐาน SHA+ เช่นเดียวกัน โดยเมื่อไปถึงโรงแรมนักท่องเที่ยวทำการ Check-in เข้าพัก และทางโรงแรมจะเชื่อมข้อมูลของนักท่องเที่ยวในระบบ SHABA และในแอปพลิเคชันหมอชนะเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถระบุถึงบุคคลได้ และเมื่อผลตรวจออกแล้ว จะส่งผลผ่านระบบ PSAS ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับระบบ SHABA ทำให้โรงแรมทราบผลตรวจ และแจ้งนักท่องเที่ยวทราบ หากผลไม่ติดเชื้อ นักท่องเที่ยวก็สามารถท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้อย่างอิสระ โดยมีเงื่อนไขต้องกลับมาเข้าพักที่โรงแรมทุกวัน ซึ่งทางโรงแรมจะทำการ Scan QR Code ในแอปพลิเคชันหมอชนะของนักท่องเที่ยวในทุกวันเช่นกัน และเมื่อถึงวันที่ 6-7 และวันที่ 12-13 นักท่องเที่ยวจะต้องเข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 2 และ 3 ตามนัดหมาย และรับผลการตรวจผ่านระบบ PSAS และ SHABA เช่นเดิม หากนักท่องเที่ยวไม่มารายงานตัวที่โรงแรม หรือรับการตรวจหาเชื้อโควิดตามที่ได้นัดหมาย เป็นหน้าที่ของโรงแรมต้องแจ้งให้ศูนย์ปฏิบัติการทราบ ผ่านระบบ Phuket Precocious System (PPRES) เพื่อดำเนินการต่อไป แต่หากโรงแรมไม่แจ้งก็จะมีบทลงโทษตามเงื่อนไข ทั้งนี้หากนักท่องเที่ยวอยู่ในพื้นที่โครงการ และเข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครบตามเงื่อนไขแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยได้อย่างอิสระ
ก่อนที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า Sandbox นักท่องท่องเที่ยว จะต้องขอรับใบรับรองในการเดินทางเข้าประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ดังนี้
ภาพที่ 3 ระบบ Certificate of Entry (COE)
โดยนักท่องเที่ยวจะต้องอัพโหลดยื่นเอกสารต่าง ดังนี้
ภาพที่ 4 ระบบ Thailand SHA Plus Booking Authentication (SHABA)
ผ่านเว็บไซต์ https://www.thailandshaba.com/login และระบบ SHABA จะออกหลักฐานการชำระเงินค่าที่พักโรงแรม SHA+ ที่เรียกว่า SHABA Certificate ดังภาพที่ 5 เพื่อใช้ในขั้นตอนขอ COE
ภาพที่ 5 ภาพตัวอย่าง SHABA Certificate
ซึ่งระบบ SHABA ได้เชื่อมต่อกับระบบ Thailand Phuket Swab Appointment System เพื่อรายงานผลตรวจเชื้อโควิด-19 ของนักท่องเที่ยว ซึ่งผลตรวจทั้ง 3 ครั้ง จะเป็น 1 ใน 2 เงื่อนไข (ผลตรวจ และจำนวนวันที่พักอาศัยใน Sandbox) สำหรับการออกเอกสารรับรองการอนุญาตออกจากพื้นที่ Sandbox ของนักท่องเที่ยว หรือที่เรียกว่า Released Form โดยเอกสารนี้จะออกจากระบบ SHABA เพื่อให้นักท่องเที่ยวไว้ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจต่าง ๆ
ระบบ Thailand Phuket Swab Appointment System (PSAS) เป็นระบบที่ให้นักท่องเที่ยวจองการตรวจ RT-PCR ตามที่ได้ระบุเอาไว้ในราชกิจจานุเบกษา ผ่านเว็บไซต์ https://www.thailandpsas.com โดยที่นักท่องเที่ยวจะสามารถทำการจอง ขำระเงิน ผ่านระบบออนไลน์ด้วยตัวเอง และระบบ PSAS ได้ส่งต่อข้อมูลการนัดหมายไปยัง Phuket Swab Centers ภายการดำเนินงานของโรงพยาบาลพันธมิตร ทั้ง 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ไม้ขาว
ศูนย์ลากูน่า ศูนย์ป่าตอง ศูนย์กะตะ และศูนย์เมืองภูเก็ต และได้เชื่อมต่อกับทาง SHABA เพื่อแจ้งผลการตรวจของนักท่องเที่ยว เพื่อประกอบการพิจารณาในการออก Released Form ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6 ระบบ Thailand Phuket Swab Appointment System (PSAS)
ทั้งนี้ เมื่อนักท่องเที่ยวได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว นักท่องเที่ยวจะต้องแสดงผลการตรวจสอบเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึง Sandbox เมื่อนักท่องเที่ยวในโครงการฯ เดินทางถึงสนามบินนานาชาติภูเก็ต จะผ่านด่านควบคุมโรค และพิธีการตรวจคนเข้าเมือง แล้วทำการดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ (ภาษาอังกฤษ)
ทั้งนี้ แอปพลิเคชันหมอชนะ ได้ออกแบบให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น และจำกัดข้อมูลให้พอเพียงต่อขอบเขต และวัตถุประสงค์ แต่ไม่สามารถระบุถึงบุคคลได้ แต่เมื่อนำมาใช้งานกับโครงการ Phuket Sandbox ซึ่งต้องระบุตัวตนได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่านักท่องเที่ยวท่านใดฝ่าฝืนเดินทางออกจากเขตพื้นที่ Phuket Sandbox โดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตามต่อไป
ดังนั้น แอปพลิเคชันหมอชนะ ได้เชื่อมต่อกับระบบ SHABA เพื่อให้ระบุตัวตัวได้ ตามที่ได้กล่าวในข้างต้น โดย QR Code ในแอปพลิเคชันหมอชนะของนักท่องเที่ยวในโครงการฯ จะมี QR Code เป็นสีเหลือง ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งจะเมื่อถูกสแกน ณ ด่านตรวจ จะแสดงว่าเป็นนักท่องเที่ยวในโครงการฯ และยังไม่ครบตามเงื่อนไขการออกนอกพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธการขอออกนอกพื้นที่ Sandbox
ภาพที่ 7 แอปพลิเคชันหมอชนะ
จากนั้น นักท่องเที่ยว จะต้องเข้ารับการตรวจเชื้อ แบบ RT-PCR ณ สนามบิน แล้วออกเดินทางออกจากสนามบิน ไปยังโรงแรม SHA+ โดยรถโดยสารที่ได้มาตรฐาน SHA+ เช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำในลักษณะ Seal Route แต่ทั้งนี้ หากนักท่องเที่ยวไม่เข้าพักตามที่กำหนด เป็นหน้าที่ของโรงแรมที่จะต้องแจ้งศูนย์ปฏิบัติการ Phuket Sandbox เพื่อดำเนินการติดตาม ผ่านทางระบบ PPRES
ระหว่างที่นักท่องเที่ยวพักใน Sandbox
นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่ของโรงแรม ต้องมีหน้าที่ร่วมกันในการสแกน QR Code ในแอปพลิเคชันหมอชนะ เพื่อเป็นการยืนยันการพักอาศัยของนักท่องเที่ยวในแต่ละวัน (Daily Scan) ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านระบบของแอปพลิเคชันหมอชนะ ไปแสดง ณ ศูนย์ปฏิบัติการ Phuket Sandbox ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบการดำเนินงานของทางโรงแรมว่ามีการงดเว้นหรือไม่ ซึ่งหากมีการงดเว้น ก็จะต้องดำเนินการตามมาตราการลงโทษต่อไป
ก่อนนักท่องเที่ยวเดินทางออกจาก Sandbox
เมื่อนักท่องเที่ยวปฏิบัติตามเงื่อนไขจำนวนวันที่เข้าพักใน Sandbox และมีผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นลบ นักท่องเที่ยวจะได้รับ Released Form จากเจ้าหน้าที่ของโรงแรมออกให้จากระบบ SHABA และจะมีการเปลี่ยนสี QR Code ในแอปพลิเคชันให้เป็นสีเขียว ซึ่งสามารถเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ Sandbox ได้
เทคโนโลยีดิจิทัลของเจ้าหน้าบริหารจัดการ Sandbox
ภาพที่ 8 ระบบ GEO Facing
ระบบ Phuket Precocious System (PPRES) เป็นการประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการจัดการรายการงาน (to-do List) ที่ชื่อว่า Trello เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างระบบ SHABA และเจ้าหน้าที่ของโรงแรมที่ทำหน้าที่ SHA+ Managers ซึ่งจะเปิดเคสงาน เช่น แจ้งนักท่องเที่ยวไม่เข้าพักตามที่กำหนด นักท่องเที่ยวสูญหาย หรือเมื่อนักท่องเที่ยวตรวจเชื้อโรคโควิด-19 แล้วมีผลเป็นบวก เป็นต้น และเมื่อเปิดเคสงานแล้ว ทางศูนย์ปฏิบัติการ Phuket Sandbox จะรับประสานงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ และติดตามจนกระทั่งปิดเคสงาน ดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9 ระบบ Phuket Precocious System (PPRES)
เทคโนโลยีดิจิทัลของเจ้าหน้า ณ จุดด่านตรวจเข้าออก Sandbox
ภาพที่ 10 ระบบ Sandbox ID Verification for Airline & Port (SIVA)
ภาพที่ 11 การสแกน QR Code ของแอปพลิเคชันหมอชนะ ณ จุดตรวจเข้าออก
นอกจากนี้ ทางจังหวัดภูเก็ต โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในโครงการ 5G Use Case for Phuket Data Sandbox Platform และระบบในการคัดกรองและแจ้งเตือน เตรียมความพร้อมในการเปิดเศรษฐกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 นำเทคโนโลยี และระบบในการวิเคราะห์บุคคลจากใบหน้า ตรวจสอบเมื่อบุคคลผ่าน Smart Gate ที่ติดตั้ง ณ ด่านตรวจเข้าออกทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ซึ่งจะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม เมื่อมีนักท่องเที่ยวในโครงการฯ ที่ยังไม่ครบเงื่อนไขที่จะออกนอกเขตพื้นที่ Sandbox ผ่านด่านตรวจ ในข้อที่ 2 พัฒนาระบบแพลตฟอร์มกลาง (Phuket Data Sandbox Platform) ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ถูกต้องนำมาใช้เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง โดยมีรูปแบบการทำงาน ดังภาพที่ 12
ภาพที่ 12 แสดงการทำงานของระบบต่าง ๆ ในโครงการ 5G Use Case for Phuket Data Sandbox Platform และระบบในการคัดกรองและแจ้งเตือน เตรียมความพร้อมในการเปิดเศรษฐกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต (ที่มา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2564)
สรุป
โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เป็นโครงการนำร่องที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดแล้ว และสมกับใช้คำว่า “แซนด์บ็อกซ์” ด้วยตั้งแต่เริ่มโครงการมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม ทั้งมิติการบริหารโครงการ การประกาศคำสั่ง และเทคโนโลยีดิจิทัลในโครงการฯ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ไปพร้อมกับโครงการ เช่น การปรับลดจำนวนวัน และจำนวนครั้งในตรวจเชื้อ เพราะจากข้อมูลพบว่ามีนักท่องเที่ยวในโครงการที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ ร้อยละ 0.3 และเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่แสดงอาการ เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจต้องปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ประเทศ หรืออาจจะต้องยกเลิกไปเลยก็เป็นไปได้ตามเหตุแห่งความจำเป็น แต่อย่างน้อยที่สุด โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ก็ให้คำตอบกับประเทศว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำ ให้เข้าประเทศโดยไม่กักตัวเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
โดยนายต้น ใจตรง
สาขาภาคใต้ตอนบน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิงจาก: