จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในจังหวัดของประเทศที่มีแนวคิดในการเป็นเมืองอัจฉริยะ ที่ต้องการให้มีรูปแบบของการพัฒนาเมืองทั้งทางด้านตัวเมืองและทางด้านชนบทให้มีความเหมาะสมกับการเป็น City Life และรองรับการเจริญเติบโตของสังคมนอกเมือง ทั้งนี้พื้นที่ในเขตนอกอำเภอเมืองถึง 80% ที่มีอาชีพทางด้านเกษตร ซึ่งเป็นส่วนของภาคอุตสาหกรรมหลักของจังหวัดที่มีผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม ออกมาเป็นผลิตผลมวลรวม เป็นแหล่งสร้างรายได้ สร้างงาน ให้กับส่วนท้องถิ่นที่ทำเกษตรกรรมตั้งแต่ในยุคก่อน อย่างไรก็ตาม ภาคการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไปไปค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อตอบรับกับเรื่องของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุณภูมิ ความร้อน พายุ ฯลฯ ที่เป็นความเสี่ยงหรือปัจจัยภายนอกอันไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งการทำ Smart Farm ยังมีส่วนสนับสนุนส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเกษตรที่เป็นยุทธศาสตร์หลักของชาติและกลับสู่ภูมิลำเนาเพื่อพัฒนาถิ่นกำเนิดอีกด้วย
โดยแนวคิด Plant Factory หรือการปลูกพืชผักผลไม้ในระบบปิดในโรงเรือนหรือห้องว่าง นี้จะช่วยส่งเสริมห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ส่งออก โดยเฉพาะการปลูกพืชสมุนไพร หรือ พืชมีมูลค่าสูง โดยนำเอานวัตกรรมมาผสมผสานกับเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อที่จะแก้ปัญหาต่างๆ และพัฒนาระบบเกษตรกรรมให้มีคุณภาพสูงขึ้นในเชิงปริมาณและคุณภาพ ด้วยสามารถควบคุมการผลิตในระบบปิดที่มีการควบคุมปัจจัยเรื่อง น้ำ อากาศ และ ความชื้นในปริมาณที่เหมาะสมโดยมีระบบเซ็นเซอร์เป็นตัวควบคุมซึ่งทำให้ประหยัด ทรัพยากรทางธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลผลิตที่ได้มีความแน่นอนในเชิงปริมาน ในแต่ละรอบปลูกสูงถึง 95% และยังปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังสามารถนำเทคโนโลยี Smart Farm มาปรับใช้เพื่อลดขนาดพื้นที่เพาะปลูกซึ่งสามารถกระจายเข้าสู่ชุมชนได้ทุกพื้นที่โดยไม่มีข้อจำกัด โดยแม้ในตัวเมืองก็สามารถสร้างได้ทำให้สามารถลดค่าขนส่ง รักษาคุณภาพของผลผลิตให้มีความสดใหม่ ลดปัญหาแรงงานและความเสียหายของผลผลิต นอกจากนี้ และยังมีการจัดเก็บข้อมูลการกายภาพต่างๆของการปลูกพืช และข้อมูลผู้บริโภคในรูปแบบ Big Data เพื่อนำมาพัฒนาการปลูกโดยการใช้ข้อมูลที่จัดเก็บที่เที่ยงตรงแม่นยำมากขึ้นด้วย
ปัจจุบันประเทศชั้นนำหลายประเทศได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีนี้ โดยนำไปใช้ในการผลิตพืชคุณภาพสูงในเชิงการค้าได้เป็นผลสำเร็จแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น โดย Plant Factory เป็นเทคโนโลยีที่ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี โดยระบบนี้สามารถปลูกพืชได้มากกว่า 10 ชั้น (ขึ้นกับชนิดของพืช) ซึ่งจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัด ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุต่างๆ และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต โดยเลือกใช้หลอดไฟ LED เป็นแหล่งกำเนิดของแสง เนื่องจากให้ความร้อนน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประหยัดไฟมากกว่า และสามารถเลือกสีของแสงตามความเหมาะสมของต้นพืช โดยระบบ LED Plant Factory นั้น จะทำให้สามารถประหยัดพลังงานแสงช่วยลดต้นทุนการจัดการความร้อน มีกระบวนการผลิตที่แม่นยำสูง ผลผลิตที่ได้ปราศจากการปนเปื้อน โดยค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำ LED Plant Factory อยู่ที่ประมาณ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตร หรือประมาณ 127,000 บาทต่อตารางเมตร โดยสามารถสร้างรายได้ปีละประมาณ 75,000 บาทต่อตารางเมตร ทำให้สามารถคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี ซึ่งหลายๆ ประเทศได้มุ่งเป้าพัฒนา LED Plant Factory ในการผลิตสารสำคัญทางชีวภาพจากพืชเชิงการค้า เช่น ประเทศญี่ปุ่น (200 แห่ง) ไต้หวัน (100 แห่ง) จีน (50 แห่ง) สหรัฐอเมริกา (25 แห่ง) เกาหลี (10 แห่ง) และสิงคโปร์ (2 แห่ง) นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการผลิตพืชในสภาวะแวดล้อมที่ ไม่เหมาะสม และขาดแคลนทรัพยากรในการผลิต เช่น ในทะเลทราย หรือในอวกาศ เป็นต้น
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมฉะนั้นความทุ่มเท ในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการเกษตรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกและพัฒนาองค์ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพดังนั้นการมองหาวิธีการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยมองตั้งแต่ต้นน้ำ (ภาคการผลิต) จนถึงปลายน้ำ (ภาคการตลาด ผู้บริโภค อุตสาหกรรมยา เวชสำอางค์ เป็นต้น) ถึงจะสร้างเครือข่ายเกษตรกรแบบใหม่ที่กำจัดสาเหตุของความยากจนออกไปได้ โดย ผลผลิตของไทยที่สามารถนำไปเพาะปลูกใน Plant Factory แบ่งเป็น 4 กลุ่ม มีตัวอย่างดังนี้
เทคโนโลยีทางด้าน Plant Factory เป็นการสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรแบบใหม่ ที่สามารถควบคุมปัจจัยในการผลิตพื้นฐาน เช่น น้ำ, อากาศ, อุณหภูมิ, ความชื้น, คาร์บอนไดอ็อกไซด์, ปุ๋ย, แสงสว่างและลม โดยใช้ระบบ Internet of Things ร่วมกับระบบเซนเซอร์ควบคุมปัจจัยเหล่านี้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ โดยสุดท้ายPlant Factory คือระบบที่สามารถปลูกพืชได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากจะประหยัดพื้นที่และพลังงานแล้วยังประหยัดน้ำและปัจจัยการปลูกด้วย และสิ่งสำคัญที่สุดคือการเก็บข้อมูลให้เก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งจะทำให้เกิดการเก็บข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำ (การเพาะปลูก) กลางน้ำ (การขนส่ง) ปลายน้ำ (ผู้บริโภค) อย่างเป็นระบบ และนำไปสู่การเป็นข้อมูล Big Data ที่ใช้ในการวิเคราะห์ และสรุปผลของการเพาะปลูกพืชในแต่ละชนิดอีกด้วย
สนใจเรื่อง Plant Factory ติดต่อ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงใหม่