หากตั้งคำถามว่า “คุณภาพชีวิตที่ดี” หรือ “Smart Living” หมายถึงอะไร น่าจะได้คำตอบที่หลากหลาย แต่คำตอบหนึ่งที่น่าจะเห็นตรงกัน คือการที่คนคนหนึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข และพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่แน่นอนว่าความต้องการของคนแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนั้น คุณภาพชีวิตที่ดีของคนคนหนึ่งอาจไม่ใช่คุณภาพชีวิตที่ดีในสายตาของคนอีกหลายคนก็ได้
อย่างไรก็ตาม หากโฟกัสไปที่คนที่อาศัยอยู่ในเมือง พิจารณาจากลักษณะการใช้ชีวิตของคนเมือง คุณภาพชีวิตที่ดีควรประกอบด้วย 3 เรื่องนี้ คือ 1.ความปลอดภัย 2.ระบบสาธารณสุข และ 3.ระบบสาธารณูปโภค ซึ่งในปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถช่วยตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีได้ บทความนี้จะยกตัวอย่างบางเทคโนโลยีที่เริ่มมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ที่สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองได้เป็นอย่างดี
1.Smart Pole
ประเทศไทยและโดยเฉพาะในเขตเมืองได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับ PM2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งสามารถหลุดรอดการกรองของขนจมูกผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจและปอด ก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด หัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบ และที่อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งปอดได้ ซึ่งสาเหตุของฝุ่น PM2.5 นั้น มาจากการเผาไหม้จากเครื่องยนต์ / จากการเกษตร / หรือแม้แต่การเผาไหม้ในครัวเรือนนั่นเอง ในส่วนของการแก้ไขจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งต้องใช้เวลา แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้เลยคือการแจ้งเตือนเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงปัญหา และหาวิธีป้องกันตัวเอง และ Smart Pole ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มาช่วยเรื่องนี้
Smart Pole คือเสาอัจฉริยะที่ได้มีการนำอุปกรณ์ตรวจวัดมาติดตั้งไว้บนเสาซึ่งติดตั้งในจุดต่าง ๆ ของเมือง รวมถึงมีการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร เช่น Gateway และ Wifi Hotspot เพื่อใช้ส่งข้อมูลที่ได้ขึ้นระบบ Cloud แบบ Real time ตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจวัดที่มักจะติดตั้งบนเสา ได้แก่ อุปกรณ์ประเภท Sensor ตรวจวัดคุณภาพอากาศ (Air quality sensor) เช่น
เมื่อติดตั้งแล้ว Sensor บน Smart Pole จะตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศ ณ จุดติดตั้ง แล้วส่งข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลผ่านระบบ Cloud เพื่อนำไปวิเคราะห์ หากมีค่าใดอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตราย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกแจ้งเตือนให้ประชาชนในบริเวณนั้นระมัดระวังตัว หรือสวมใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ก่อนออกจากบ้าน เป็นต้น
นอกจากนี้ในปัจจุบัน บน Smart Pole ยังได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อใช้ในการตรวจสอบสภาพโดยรอบแบบ Real time มี Public display เพื่อแจ้งข่าวสารสาธารณะแก่ประชาชนโดยรอบ และยังอาจมีอุปกรณ์สื่อสารประเภทไมโครโฟนและลำโพงเพื่อให้สามารถสื่อสารกับหน่วยงานเจ้าของ Smart Pole ได้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
รูปที่ 1 ตัวอย่าง Smart Pole
2.Smart Healthcare
ประเทศไทยได้พบกับโรคระบาดไวรัสโคโรนา หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคโควิด-19 มาเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปีแล้ว โรคนี้ได้สร้างผลกระทบให้กับคนไทยทั้งประเทศและทั้งโลก เนื่องจากสามารถติดต่อกันได้ง่าย และการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้เองเป็นตัวเร่งให้เกิดการใช้ Smart healthcare อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพื่อลดการติดต่อโดยตรงระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ลดทรัพยากรมนุษย์ทางการแพทย์ในการตรวจสอบสัญญาณชีพต่าง ๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ตัวอย่างของเทคโนโลยี Smart Healthcare ได้แก่
รูปที่ 2 ตัวอย่าง Smart Device
รูปที่ 3 SmartHealthCare Application
รูปที่ 4 5G Robot for Care โดยทีมพัฒนาของ AIS
รูปที่ 5 หุ่นยนต์ Telemedicine จากการพัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3.Smart Service
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้บริการสาธารณูปโภคจากหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ไฟฟ้า และน้ำประปา ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ การไฟฟ้าและการประปา และมีแยกออกไปอีกว่าในกรุงเทพมหานครจะเป็นพื้นที่รับผิดชอบของนครหลวง และในจังหวัดอื่นจะเป็นส่วนภูมิภาค
ในอดีตการชำระค่าไฟฟ้า ค่าประปา จะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระผ่าน Counter Service ต่าง ๆ แต่ปัจจุบัน ทางการไฟฟ้าและการประปาได้พัฒนา Application มาเพื่อให้ประชาชนสามารถชำระค่าบริการ หรือแจ้งปัญหาผ่าน Application ได้ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางโดยไม่จำเป็น สามารถประหยัดเวลาและเพิ่มความสะดวกสบายให้มากขึ้น Application ของการไฟฟ้า เช่น Smart Life ของการไฟฟ้านครหลวง และ PEA Smart Plus ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
รูปที่ 6 Application ของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
รูปที่ 7 Application ของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค
ตัวอย่างพื้นที่ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตบางส่วนมาใช้จริงในพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก โดยเทศบาลนครพิษณุโลกได้มุ่งหวังให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการติดตั้ง Smart Pole นำร่องในพื้นที่พร้อมระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ และกล้อง CCTV รวมถึงมีระบบที่ประชาชนสามารถสื่อสารมายังเทศบาลผ่าน Smart Pole ได้ และกำลังพัฒนาระบบรับเรื่องราวร้องทุกข์ออนไลน์ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน Line ในชื่อว่า Phitsanulok Connext และ สร้างแอปพลิเคชันในการให้บริการผู้ใช้น้ำประปา ในชื่อว่า Smart Prapa ประชาชนในพื้นที่สามารถร้องเรียน แจ้งปัญหากับทางเทศบาลโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่สำนักงานเทศบาลโดยตรง โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบและประสานงานต่อ ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และยังประหยัดเวลาอีกด้วย
รูปที่ 8 Smart Pole โดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครพิษณุโลก และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
รูปที่ 9 Application Smart Prapa โดยเทศบาลนครพิษณุโลก
จากตัวอย่างที่ได้นำเสนอจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราปลอดภัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาล้วนเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว และเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในปัจจุบันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สิ่งที่พวกเราต้องทำคือ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นอย่างระมัดระวัง และเกิดประโยชน์กับตัวเองและคนรอบตัว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นสมกับคำว่า Smart Living เพราะเราก้าวเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี หรือยุค IOT (Internet of Things) แล้ว และกำลังก้าวไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ในอนาคตอันใกล้นี้
โดย นายอรรถพล ห้วยหงษ์ทอง
สาขาภาคเหนือตอนล่าง
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ้างอิงจาก: