ในโลกยุคปัจจุบัน ปัจจุบันผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและใช้บริการด้านข้อมูลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ในขณะเดียวกัน ข้อมูลขนาดใหญ่ของผู้ใช้งานที่อยู่ในระบบมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ขโมย หรือถูกทำลายได้ เช่น การขโมยข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน การสร้างไวรัสโจมตีระบบปฏิบัติการ เป็นต้น หากไม่มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ดีเพียงพอ ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์เหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายแก่ตัวผู้ใช้งานได้ แนวคิดเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) จึงต้องถูกพัฒนาไปพร้อมกับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยี
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ได้ให้ความหมายของคำว่า ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ว่า ภาพรวมของเครื่องมือ นโยบาย แนวคิดการรักษาความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย แนวทาง วิธีการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติ การอบรม วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ การรับประกัน และเทคโนโลยีที่สามารถปกป้องสภาพแวดล้อมทาง ไซเบอร์ องค์กร และสินทรัพย์ของผู้ใช้งาน ได้แก่ อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอริ์ข้อมูลส่วนตัว โครงสร้างพื้นฐาน, แอปพลิเคชัน, บริการ, ระบบสารสนเทศ และภาพรวมของการส่งผ่านหรือเก็บข้อมูลในไซเบอร์
ระบบ Cyber Security จำเป็นต่อทุกอุตสาหกรรม แต่เนื่องด้วยความจำเป็นเร่งด่วนและผลกระทบที่รุนแรง ได้ถูกนำมาใช้อย่างมากในอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคาร เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบัน ในหลายๆ ประเทศมีการเปิดเสรีทางการเงินการธนาคารเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมทางการเงิน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน และการทำธุรกรรมทางการเงินสามารถทำได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานบนสมาร์ทโฟน สถาบันการเงินจึงเห็นความจำเป็นในการพัฒนาระบบ transaction ควบคู่ไปกับระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ อันจะส่งผลให้ e-commerce และ e-banking เติบโตในภาพรวม
ที่มา: IDC
อย่างไรก็ดี ความท้าทายหลักที่ผู้ประกอบการประสบคือ สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นมักจะถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้แพร่หลายในหลาย อุตสาหกรรม ซึ่งบ่อยครั้งที่แนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถนามาติดตั้งหรือแก้ปัญหาเฉพาะด้านที่เกิดขึ้นแค่กับอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร หรือไม่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายเฉพาะบางประการได้ อีกทั้งหลายแนวทางการแก้ไขปัญหา ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ส่วนเมื่อพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใช้เอง ผู้ประกอบการมักพบว่าต้องการการลงทุนทั้งในแง่ของเงินทุน บุคลากร และเวลาที่สูงจนบางครั้งอาจไม่ทันกับสถานการณ์ และความท้าทายอีกประการ เกี่ยวข้องการนำเทคโนโลยีอนาไลติกส์มาใช้ในการช่วยวิเคราะห์ธุรกิจและภัยคุกคามซึ่งมักจะเห็นผลตอบแทนช้าอันเนื่องมาจากปริมาณข้อมูลไม่มากเพียงพอ ส่วนความท้าทายที่สำคัญประการสุดท้าย คือการทำงานร่วมกับ FinTech สตาร์ทอัพ เนื่องจากบ่อยครั้งที่สตาร์ทอัพมีนวัตกรรมที่น่าสนใจและมีแนวโน้มที่สถาบันการเงินจะนำมาปรับใช้ได้ แต่ผู้ประกอบการไม่สามารถทำการประเมิน ปรับแต่ง ทดสอบ และติดตั้งเทคโนโลยีได้รวดเร็วเพียงพอ