สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เล็งเห็นถึงความสำคัญบทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อภาคการเกษตรและธุรกิจการเกษตร ที่จะช่วยยกระดับฐานะและเพิ่มผลการผลิตให้กับประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศไทยแม้จะเป็นฐานการผลิตผลิตผลทางการเกษตรที่มีความสำคัญของโลก แต่ด้วยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้เกษตรกรยังคงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน ซึ่งอาจจะสวนทางกับตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดในประเทศไทย ที่มีมูลค่าถึงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) นอกจากนี้ยังมีสัดส่วนแรงงานสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย
นวัตกรรมเกษตรจะเข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตการเกษตร และจะเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทางการเกษตรที่มีความทันสมัยและครอบคลุมทุกมิติ เช่น IoT (Internet of Things) การใช้ระบบเครื่องรับรู้ การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Robot) ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) การใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone), Cloud, AR & VR และ Blockchain การลงทุนและการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ Digital Technologies ต่างๆ รวมไปถึงการจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร นวัตเกษตรจึงเป็นเกษตรกรรมยุคใหม่ที่จะมีบทบาทมากขึ้นและว่าเป็นเกษตรกรรมของอนาคตอย่างแท้จริง นวัตกรรมเกษตรจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานผลิตสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว การเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรที่จะเกิดขึ้นในยุคดิจิทัล การปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการผลิต การเตรียมองค์กร และกำลังคนในมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และสามารถนำองค์ความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและองค์กร depa จึงได้จัดหลักสูตรอบรม “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกำลังพลในการขับเคลื่อนของประเทศชาติ ได้มีองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยด้านนวัตกรรมเกษตร แนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ ที่ทันสมัย นอกจากผู้ได้รับการอบรมในหลักสูตรนี้จะได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นโอกาสในการสร่างเครือข่ายในการพัฒนาอนาคตของประเทศชาติ
เนื่องจากภาคเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดในประเทศไทย มีมูลค่าถึงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) นอกจากนี้ยังมีสัดส่วนแรงงานสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย อย่างก็ตามประเทศไทยแม้จะเป็นฐานการผลิตผลิตผลทางการเกษตรที่มีความสำคัญของโลก
หลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจดิจิทัลเกษตร” รุ่นที่ 1 ได้ทำการเปิดหลักสูตรเมื่อเดือน กรกฎาคม 2562 และหลักสูตรได้มีการสิ้นสุดลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2562โดยมีระยะเวลาการอบรมทั้งสิ้นมากกว่า 130 ชั่วโมง
การศึกษาดูงานในประเทศ
![]() | ![]() | |
![]() | ![]() |
เข้าอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร (Chief of Digital Agro Business - CDA) รุ่นที่ 1 เข้าศึกษาดูงาน ณ สำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ให้การต้อนรับ ก่อนนำคณะผู้เข้าอบรมเยี่ยมชมภายในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ภูมิปัญญานวัตกรรมเกษตร และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากนั้น ผู้เข้าอบรมได้เดินทางสู่โรงงานผลิตยารังสิต 1 องค์การเภสัชกรรม ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยมี ภญ.สุพร อิงอุดมมนุกูล ผู้จัดการโรงงานผลิตยารังสิต 1 ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การผลิตยาด้วยเทคโนโลยีทันสมัย” สำหรับการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมได้รับการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร และเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษาดูงานในต่างประเทศ
![]() | ![]() | |
![]() | ![]() |
ระหว่างวันที่ 7-12 ตุลาคม 2562, เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี - ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมทีมงาน นำผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร (Chief of Digital Agro Business) หรือ CDA รุ่นที่ 1 เข้าชมงาน ANUGA 2019 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก
โดยผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ได้สัมผัสนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก เพิ่มโอกาสทางการค้าผ่านการเจรจาธุรกิจกับผู้ผลิตและผู้ค้าจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมรับทราบแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโลก เพื่อนำความรู้และข้อมูลที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเกษตรต่อไป
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีเวทีสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการแสดงเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเทคโนโลยีชีวภาพจากผู้ประกอบการและผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ากว่า 7,400 รายจาก 100 ประเทศทั่วโลก
สำหรับกิจกรรมศึกษาดูงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มองค์ความรู้ ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรสมัยใหม่แก่ผู้เข้ารับการอบรม ก่อนนำมาพัฒนาและจัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านการเกษตรสมัยใหม่ต่อไป