บริการ
TH
EN
TH
CN
depa Digital Infrastructure Fund for Private and Public Investment
Please Select

ดีป้าเปิดรับสมัครขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน ภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Infrastructure Fund for Government & Public Investment) และเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Infrastructure Fund for Private Investment)


#รายละเอียดมาตรการ depa Digital Infrastructure สำหรับหน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษาเอกชนฉบับเต็ม (คลิก)

#รายละเอียดมาตรการ depa Digital Infrastructure สำหรับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐ ฉบับเต็ม (คลิก)


#ดาวน์โหลดแบบฟอร์มและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.depa.or.th/th/infrafund

Load More

โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การวิเคราะห์ การทดสอบ การสอบเทียบเครื่องมือ การทดลอง และพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ห้องปฏิบัติการ พื้นที่เพื่อการสร้างเครือข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ระบบคอมพิวเตอร์แบบหมู่เมฆ (Cloud Computing) หรือระบบคอมพิวเตอร์ในระบบคลาวด์ซึ่งหมายรวมถึงระบบที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงและใช้บริการได้จากทุกสถานที่และได้ทุกเวลา โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ประกอบการติดตั้งเพื่อนำไปสู่การให้บริการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบซอฟต์แวร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลบนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ และพื้นที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือการให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้

ลักษณะโครงการ

  1. อยู่ระหว่างการปรับปรุงแบบก่อสร้าง
  2. เพื่อการพัฒนาสถานที่ รวมถึงการก่อสร้างอาคาร
  3. เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์แบบหมู่เมฆ (Cloud Computing) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง
  4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล


เป้าหมายของโครงการ

  1. ให้เกิดการลงทุนหรือประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล
  2. เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ
  3. เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล โดยร่วมมือกับบุคคลอื่น รวมถึงการใช้ประโยชน์ต่างๆ ตามนิยามโครงสร้างพื้นฐานที่ depa กำหนด
Load More

ลักษณะการช่วยเหลือ

  • องค์การเอกชน
  • สถาบันการศึกษาเอกชน


ลักษณธการอุดหนุน

  • วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ตามนิยามของ สสว.) 
    • วงเงินสนับสนุนสูงสุด : 50,000,000 บาท (คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ)
      ระยะเวลาดำเนินงาน : ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 3 ปี

เงื่อนไข

  • ผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องไม่สามารถหาเงินสนับสนุนจากธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ หรือมีหลักฐานแสดงการยื่นขอสินเชื่อระยะเวลามากกว่า 30 วัน โดยยังไม่ทราบผลการพิจารณา ยกเว้นกรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาของเอกชน
  • ผู้ขอรับการสนับสนุนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการอย่างน้อยร้อยละ 50

เงื่อนไขเพิ่มเติม

  • depa จะแปลงมูลค่าการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเป็นผลประโยชน์อื่นในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าร่วมทุนกับบุคคลอื่น หรือการจัดตั้งทรัพย์สินขององค์การ หรือสำนักงาน หรือสถาบัน หรือหน่วยงานเฉพาะทาง เป็นต้น


ผู้ขอรับการช่วยเหลือหรือการอุดหนุน จะต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญในข้อเสนอโครงการ ได้แก่

  • ข้อเสนอมูลค่าการเข้าถือหุ้น หรือแผนการจัดตั้งองค์การ หรือสำนักงาน หรือสถาบัน หรือหน่วยงานเฉพาะทาง และแผนการออก (Exit Plan)
  • รายละเอียดค่าใช้จ่ายของโครงการจำแนกประเภทต่าง เช่น ค่าตอบแทน ค่าวัสดุ ค่าจ้างเหมาก่อสร้าง ค่าออกแบบ ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น (พร้อมแนบแค็ตตาล็อกหรือรายการประเมินราคาสำหรับสิ่งก่อสร้างจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา)
  • แผนธุรกิจ (แผนการตลาด การบริหาร และการเงิน) พร้อมผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Internal Rate of Return : EIRR)

____________________________________________________________________________________________

ลักษณะการช่วยเหลือ

หน่วยงานภาครัฐ สถาบันเฉพาะทางของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐ


รูปแบบการสนับสนุน

ส่วนที่ 1
การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วางแผน และการลงทุนในการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (ในการนี้ต้องดำเนินการส่วนที่ 1 ให้แล้วเสร็จ 1 ปี) วงเงินสนับสนุนสูงสุด 50,000,000 บาท (ค่าศึกษา/ค่าจ้าง 20 ล้านบาท, ค่าบริหารโครงการ 30 ล้านบาท)

ส่วนที่ 2
การส่งเสริมและสนับสนุนการออกแบบ ปรับปรุงอาคารและก่อสร้างในการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล วงเงินสนับสนุนสูงสุด 200,000,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนตามมาตรการนี้ จะต้องนำเสนอโครงการที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของมาตรการนี้ ให้สำนักงานพิจารณาพร้อมกันทั้ง 2 ส่วน


ระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี


เงื่อนไขเพิ่มเติม

depa จะแปลงมูลค่าการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเป็นผลประโยชน์อื่นในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การถือหุ้น เข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าร่วมทุนกับบุคคลอื่น หรือการจัดตั้งทรัพย์สินขององค์การ หรือสำนักงาน หรือสถาบัน หรือหน่วยงานเฉพาะทาง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ขอรับการช่วยเหลือหรือการอุดหนุน จะต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญในข้อเสนอโครงการ ได้แก่

  1. ข้อเสนอมูลค่าการเข้าถือหุ้น หรือแผนการจัดตั้งองค์การ หรือสำนักงาน หรือสถาบัน หรือหน่วยงานเฉพาะทาง และแผนการออก (Exit Plan)
  2. รายละเอียดค่าใช้จ่ายของโครงการจำแนกประเภทต่าง เช่น ค่าตอบแทน ค่าวัสดุ ค่าจ้างเหมาก่อสร้าง ค่าออกแบบ ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น (พร้อมแนบแค็ตตาล็อกหรือรายการประเมินราคาสำหรับสิ่งก่อสร้างจากบุคคลหรือนิติบุคคลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา)
  3. แผนธุรกิจ (แผนการตลาด การบริหาร และการเงิน) พร้อมผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Internal Rate of Return : EIRR)
Load More

ดาวน์โหลด

  1. หนังสือนำส่งใบสมัครมาตรการ.docx
  2. แบบฟอร์มใบสมัครขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุน RA-01-I
  3. มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
  4. มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล


ขั้นตอนการยื่นเสนอโครงการ

  1. กรอกข้อมูลเอกสารหนังสือนำส่ง หนังสือนำส่งใบสมัครมาตรการ และแบบฟอร์ม RA-01-l ให้ครบถ้วน
  2. สั่งพิมพ์เอกสารตามข้อ 1 ที่กรอกเสร็จแล้ว และลงลายมือชื่อในเอกสารโดยผู้มีอำนาจลงนาม
  3. จัดส่งเอกสารตัวเองที่สำนักงานฯ หรือทางไปรษณีย์


พื้นที่

รายละเอียดการติดต่อ

ภาคกลาง ภาคตะวันออก และพื้นที่เศษฐกิจพิเศษ EEC (จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อาคารลาดพร้าวฮิลล์ เลขที่ ๘๐ ซอยลาดพร้าว ๔ ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๐๒๖ ๒๓๓๓ ต่อ ๑๑๖๘ หรือ [email protected]
พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ (EEC) ๐๘-๙๗๘๘-๗๑๑๗  หรือ [email protected]
ภาคเหนือ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคเหนือตอนบน เลขที่ ๑๕๘ ถนนทุ่งโฮเต็ล ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๓๒๔ ๗๒๘๒ หรือ [email protected]
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคอีสานตอนกลาง เลขที่ ๑๑ ชั้น ๒ อาคารแก่นนคร-ออฟฟิศพาร์ค ถนนศรีธาตุประชาสันติ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทรศัพท์
๐ ๔๓ ๒๗ ๑๗๐๐-๓ หรือ [email protected]
ภาคใต้
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนบน ชั้น ๑ อาคารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สะพานหิน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๗๖๓๗ ๙๑๑๑ หรือ [email protected]
Load More